วันอังคารที่ 3 กรกฎาคม พ.ศ. 2555

กิจกรรม การเรียนรู้ที่ 6 สิทธิและศักดิ์ศรีของความเป็นมนุษย์

กิจกรรม การเรียนรู้ที่ 6  สิทธิและศักดิ์ศรีของความเป็นมนุษย์
ผลการเรียนรู้
1.       มีรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการเป็นพลเมืองโลก การแก้ปัญหาความขัดแย้ง ความเป็นธรรมในสังคม ค่านิยมและสภาพการณ์ การพัฒนาที่ยั่งยืน สิทธิมนุษย์ชน การพึ่งพาอาศัยซึ่งกันและกัน และความหลากหลาย
2.       คิดวิเคราะห์เกี่ยวกับสถานการณ์ ความจริงใกล้ตัว และสถานการณ์โลกปัจจุบัน
3.       เลือกประเด็นและเชื่อมโยงเรื่องราวที่เฉพาะเจาะจง และสัมพันธ์กับเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นในระดับท้องถิ่นกับระดับโลกในภาพกว้าง
ความคิดรวบยอด
การเคารพและยึดมั่นในสิทธิและศักดิ์ศรีของความเป็นมนุษย์
กิจกรรม
1.       แนวคิดเกี่ยวกับสิทธิของความเป็นมนุษย์

จาก ปฏิญญาสากลว่าด้วยสิทธิมนุษยชน ข้อ 1 กล่าวว่า "มนุษยทั้งหลายทั้งหลายเกิดมามีอิสระเสรี เท่าเทียมกันทั้งศักดิ์ศรีและสิทธิ ทุกคนได้รับการประสิทธิ์ประสาทเหตุผลและมโนธรรม และควรปฏิบัติต่อกันอย่างฉันพี่น้อง"
        ความดำรงอยู่ ความถูกต้อง และเนื้อหาของสิทธิมนุษยชน เป็นหัวข้อที่เป็นที่โต้เถียงกันมาอย่างต่อเนื่อง ทั้งในทางปรัชญาและรัฐศาสตร์ ตามกฎหมายแล้ว สิทธิมนุษยชนได้ถูกบัญญัติเอาไว้ในกฎหมายและข้อตกลงระหว่างประเทศ และในกฎหมายภายในของหลายรัฐ อย่างไรก็ตาม สำหรับคนจำนวนมากแล้ว หลักการของสิทธิมนุษยชนนั้นกินขอบเขตเลยไปกว่ากฎหมาย และก่อร่างขึ้นเป็นหลักศีลธรรมพื้นฐานสำหรับวางระเบียบภูมิศาสตร์การเมืองร่วมสมัย สำหรับคนกลุ่มนี้แล้ว สิทธิมนุษยชนคือความเสมอภาคในอุดมคติ
2.       หลักการของศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์
 สิทธิมนุษยชนมีความสำคัญในฐานะอารยธรรมโลก นับเป็นความฉลาดของมนุษย์ที่พยายามวางระบบคิดเพื่อให้คนทั้งโลกเกิดความตระหนักรู้และคิดคำนึงถึงคุณค่าของความเป็นมนุษย์ นับแต่ขั้นพื้นฐานของความเป็นมนุษย์ ศักดิ์ศรี ชาติกำเนิด รวมทั้งระบบสิทธิต่างๆที่มีพื้นฐานมาจากความชอบธรรม ซึ่งเป็นความชอบธรรมที่ตั้งอยู่บนพื้นฐานแห่งสิทธิโดยกำเนิด สิทธิตั้งแต่เกิด การให้ความสำคัญกับคำว่า ชีวิต ว่าโดยพื้นฐานแล้ว มนุษย์และสัตว์โลกทั้งหลายล้วนต้องการปัจจัยในการดำรงชีวิตด้วยกันทั้งนั้น นับแต่ปัจจัยขั้นพื้นฐานที่ว่าด้วยอาหาร ยารักษาโรค ที่อยู่อาศัย เครื่องนุ่มห่ม การดำรงเผ่าพันธุ์ การมีชีวิตรอด ฯลฯ ความต้องการขั้นพื้นฐานเหล่านี้ นับเป็นปัจจัยสำคัญกับชีวิตเป็นที่สุด และเหมือนกันทั้งมนุษย์และสัตว์ ซึ่งสิทธิดังกล่าวหากเป็นความชอบธรรมของมนุษย์ก็คือ สิทธิมนุษยชน ทั้ง มนุษย์กับมนุษย์ มนุษย์กับสังคม มนุษย์กับธรรมชาติ และแม้แต่กับสัตว์ การคำนึงถึงสิทธิขั้นพื้นฐานมีความจำเป็นอยู่เสมอ เหล่านี้นับเป็นความสำคัญของสิทธิมนุษยชนที่สังคมโลกต่างให้ความตระหนัก การคำนึงถึงสิทธิดังกล่าว จะถือเป็นบันไดก้าวไปสู่ความยุติธรรมทางการเมือง สังคม เศรษฐกิจและการเมืองระหว่างประเทศที่จะดำเนินกิจกรรมต่างๆร่วมกัน
3.       วิเคราะห์เกี่ยวกับสถานการณ์ ความจริงใกล้ตัวและสถานการณ์ปัจจุบัน

ศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์
ดังนั้น ปี 2555 นี้ชื่อของ พ.ต.ท.ทักษิณจะยังเป็น “ตัวละครเอก” ที่ถูกใช้เป็นสัญลักษณ์แห่งความขัดแย้งทางการเมืองต่อไปอย่างแน่นอน ตราบใดที่สังคมไทยยังไม่ก้าวข้าม พ.ต.ท.ทักษิณ
ตราบใดที่ยังมีพรรคการเมืองขี้แพ้ (ชวนตี) ไม่ยอมรับผลการเลือกตั้งจากประชาชน ยังมีกลุ่มการเมืองภาคประชาชนที่กลัว “ผีทักษิณ” และกลุ่มที่หากินกับระบอบลัทธิ โดยการโฆษณาชวนเชื่อ หรือ พ.ต.ท.ทักษิณยังไม่ถูกปลดล็อกทางการเมือง
การเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่จึงเกิดขึ้นได้เสมอ
ทั้งที่ความจริงแล้วสังคมไทยมองเห็นเด่นชัดว่าแทบเป็นไปไม่ได้ที่คนอย่าง พ.ต.ท.ทักษิณจะกลับประเทศมาเปิดหน้าเล่นการเมืองอีก ถึงกลับมาได้ก็จะไม่มีชื่อของ พ.ต.ท.ทักษิณในฐานะผู้นำประเทศ (ด้วยตนเอง) อีกต่อไป
หรือแม้แต่ พ.ต.ท.ทักษิณจะไม่ได้กลับ (อย่างเช่นทุกวันนี้) พรรคการเมืองที่ยึดโยง พ.ต.ท.ทักษิณก็ชนะการเลือกตั้งทุกครั้งไปอยู่ดี จนต้องตั้งคำถามว่าเหตุใดพรรคการเมืองเก่าแก่ที่หวังแต่รอส้มหล่นจากอุบัติเหตุทางการเมืองจึงไม่เคยชนะเลือกตั้งอีกเลยหลังจากมีรัฐบาลทักษิณเกิดขึ้น
ลึกๆแล้วสิ่งที่มนุษย์ทุกคนต้องการคือความยุติธรรม ความเสมอภาค ศักดิ์ศรีของความเป็นมนุษย์ และการอยู่ร่วมกันได้ในความคิดเห็นที่แตกต่าง
เมื่อสังคมไทยกลับมานับถือศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ เมื่อทุกคนมองเห็นทุกคนเป็นมนุษย์ที่มีสิทธิเสรีภาพในการแสดงความคิดเห็นที่แตกต่างกันได้ เรื่องเล็กอย่าง “ทักษิณ” ก็เป็นแค่เรื่องของมนุษย์คนหนึ่งที่สามารถแก้ปัญหาได้
เรื่องใหญ่อย่างคนตายเกือบร้อยศพ และบาดเจ็บร่วม 2,000 คน ก็ไม่ยากที่จะหาความยุติธรรม
เมื่อได้ค้นหาอย่างมีใจเป็นธรรมจะพบว่า “การปกครองในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุขภายใต้รัฐธรรมนูญ” ก็คือระบอบที่ลงตัวและเหมาะสมกับสังคมไทยมากที่สุด ท่ามกลางความขัดแย้งแห่งวาระปัจจุบัน
เมื่อไรจะถึงวันที่คนไทยจะได้เลือกผู้นำ เลือกรัฐบาลที่คนไทยอยากได้ด้วยตนเอง หรือถ้าเลือกผิดก็อย่าเลือกกลับมาอีก หันไปเลือกคนใหม่ ไม่ต้องใส่เสื้อสีนั้นสีนี้ออกมาเต็มบ้านเต็มเมือง ไม่ต้องให้กองทัพฝ่ายเลวอ้างเหตุถือโอกาสยึดอำนาจไปจากประชาชนซ้ำแล้วซ้ำเล่า
ไม่ต้องเกี่ยวโยงไปถึงเรื่องรักชาติ ศาสน์ กษัตริย์ รักสามัคคี หรือใครจงรักภักดีมากกว่าใคร อย่างไร แค่ไหน?
ทั้งหมดเป็นแค่เรื่องของ “ศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์” พื้นๆเท่านั้นเอง


4.       ประเด็นและเชื่อมโยงเรื่องราวที่เฉพาะเจาะจง และสัมพันธ์กับเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นในระดับท้องถิ่นกับระดับโลกในภาพกว้าง
         เรื่องการเมืองการแย่งชิงอำนาจกันไม่รู้จักสามัคคีกันในประเทศส่งผลต่อเศรษฐกิจของโลกและการศึกษาและอีกหลายปัจจัยทำให้ประเทศไทยย่ำแย่ลง เราควรตระหนักถึงความถูกต้องและความยุติธรรม

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น