วันพฤหัสบดีที่ 12 กรกฎาคม พ.ศ. 2555

เพศที่สาม

ปัจจุบันในสังคมของเรา ไม่ใช่มีแค่เพศชาย หรือ เพศหญิง เท่านั้น ยังมีเพศที่ชายรักชาย หญิงรักหญิง  ซึ่งพวกนี้เราเรียกว่าเพศทางเลือกหรือเพศที่สาม
    ซึ่งเพศเหล่านี้ยังจำแนกอย่างย่อยๆได้อีกมากมาย เช่น เกย์ กระเทย ดี้ ทอม เลสเบี้ยน คิง ควีน โบท หรือ เสือใบ และ อื่นๆ ซึ่งเพศเหล่านี้จะมีความมั่นใจในตัวเองสูง แต่ในกรณีบางคนที่มีความในตัวเองน้อยก็อาจจะเป็นได้ว่า ผู้คนทางบ้านหรือพ่อแม่  ไม่ค่อยยอมรับในการที่ลูกของตนเองเป็นแบบนี้ ประเภทนี้จะมีลักษณะที่เงียบๆ และมีโลกส่วนตัวสูงชอบเก็บตัวอยู่คนเดียว เพราะไม่รู้จะไปปรึกษาใคร เพราะเกรงว่าจะโดนด่าหรือว่าได้ เลยทำให้เค้ามีความกดดันสูง  ส่วนประเภทที่มีความมั่นใจในตัวเองสูง ก็จะมีกริยา ลักษณะที่บ่งบอกชัดเจนว่าคุณเป็นอะไร ซึ่งประเภทนี้ก็อาจจะตรงข้ามกับประเภทที่มีความมั่นใจในตัวเองน้อย อาจจะเป็นที่มีคนทางบ้านหรือญาติพี่น้องรับในตัวของเค้าได้ ซึ่งก็ไม่มีปัญหาอะไร
    แต่ในสังคมไทยส่วนน้อยที่จะยอมารับเพศที่สามได้ เพราะสังคมไทยยังเป็นสังคมที่ยึดถือในวัฒธรรมสมัยก่อน ซึ่งแตกต่างจากหลายๆประเทศที่ยอมรับในเพศที่สาม ซึ่งก็เป็นเรื่องที่ดีในประเทศนั้นๆ เพราะเพศที่สามก็ไม่ได้แตกต่างอะไรจากชายแท้ หรือหญิงแท้ ก็มีความรัก ความรู้สึกเจ็บ ปวด ร้องให้ เสียใจ มีความสุข มีความทุกข์ หิว ร้อน หนาว และ อื่นๆ อีกมากมายต่างก็มีความรู้สึกเหมือนๆกัน ก็แค่แตกต่างตรงที่เค้ารักเพศเดียวกัน แค่นี้อย่างเดียวที่แตกต่างกัน
   ทำไมส่วนมากถึงยอมรับในเพศที่สามไม่ได้ อยากจะให้ทุกๆคนเปลี่ยนความคิดเก่าๆออกไป เปิดใจยอมรับในสิ่งที่แตกต่างบ้าง หรืออาจจะลองศึกษาดูก่อนก็ได้ อย่าตัดสินเค้าอย่างเดียว เค้าอาจจะไม่ได้เป็นเหมือนที่คุณคิดก็ได้ จงเปิดใจให้กว้างอย่าเป็นคนใจแคบ หรือตัดสินใจในความคิดของคุณอย่างเดียว เพราะบางครั้งอาจจะไม่ได้เป็นเหมือนที่คุณคิด อยากให้ลองคิดแบบบวก+

"เด็กที่ มีความสามารถพิเศษ"

 "เด็กที่ มีความสามารถพิเศษ" 

 ระดับ อัจฉริยะนับได้ว่าเป็นทรัพยากรบุคคลที่มีค่าของชาติที่ไม่ควรมองข้าม ซึ่งมีจำนวนไม่มากนัก หากได้รับการส่งเสริมอย่างถูกวิธี เมื่อเติบโตเป็นผู้ใหญ่ จะสามารถสร้างคุณประโยชน์แก่ประเทศชาติได้อย่างอเนกอนันต์ แต่หากไม่ได้รับการสนับสนุนช่วยเหลือที่เหมาะสม และส่งเสริมอย่างถูกวิธี อาจสูญเสียศักยภาพได้ " เด็กกลุ่มนี้จึงควรได้รับการพัฒนาให้มีคุณภาพ ทั้งทางด้านร่างกายและจิตใจ โดยได้รับการดูแลอย่างถูกต้องตั้งแต่แรกเริ่ม เพื่อจะได้เติบโตขึ้นมาอย่างมีคุณภาพทั้งทางร่างกาย และจิตใจไปพร้อมๆ กันเด็กที่มีความสามารถพิเศษและเด็กอัจฉริยะจึงเปรียบดังกล้าไม้พันธุ์ดี เมื่อเติบโตเป็นต้นไม้ที่สมบูรณ์ ให้ร่มเงาและสร้างประโยชน์แก่ประเทศชาติ

ความหลากหลายความแตกต่างของคนในสังคม

ความหลากหลาย

ความแตกต่างของคนในสังคม


 1.สาเหตุของความแตกต่างทางสังคมและวัฒนธรรม1) ความหลากหลายทางด้านเชื้อชาติ เผ่าพันธุ์ และศาสนา
2) สภาพทางภูมิศาสตร์
3 ) รูปแบบทางเศรษฐกิจ

2. ความแตกต่างทางสังคมและวัฒนธรรมในภูมิภาคต่าง ๆ ในโลกปัจจุบัน
บริเวณวัฒนธรรมคือพื้นที่หนึ่ง ๆ ซึ่งมีวัฒนธรรมเป็นเอกลักษณ์เฉพาะตัว

มี ระดับดังต่อไปนี้
1) เขตวัฒนธรรมของโลก เขตใหญ่ ได้แก่
1.1วัฒนธรรมของโลกตะวันตก ยึดถือเหตุผลและความคิดของบุคคล เป็นวัฒนธรรมของชาวยุโรป และสหรัฐ
1.2วัฒนธรรมของโลกตะวันออก ยึดถือประเพณี รักพวกด้อง เคารพผู้อาวุโส เป็นวัฒนธรรมของจีนและอินเดีย
2เขตวัฒนธรรมระดับประเทศ
3เขตวัฒนธรรมระดังท้องถิ่น
องค์ประกอบของวัฒนธรรม ในแต่ละเขตประกอบด้วยความเชื่อ ค่านิยม ศาสนา และ
เชื้อชาติ
ปัญหาที่เกิดจากความแตกต่างทางสังคมและวัฒนธรรม
1) ปัญหาด้านค่านิยม
2) ปัญหาด้านศาสนา เช่น ชาวฮินดูและชาวซิกก์ในอินเดีย มุสลิมและคริสต์ในเลบา
นอน
3) ปัญหาด้านความเชื่อ เช่น ความเชื่อทางการเมืองระหว่างค่ายเสรีประชาธิปไตยกับ
ค่ายคอมมิวนิสต์ ปัญหาความเชื่อของชาวยิวเรื่องดินแดนปาเลสไตน์
4) ปัญหาด้านเชื้อชาติ ได้แก่การไม่ยอมรับความแตกต่างของเชื้อชาติหรือดูถูกเชื้อชาติ
อื่น เช่น ในสหรัฐมีการสมาคมต่อต้านคนผิวดำ ที่เรียกว่า สมาคมดูลักศ์แคลน” ในเยอรมันมีการตั้งขบวนการนาซีใหม่ (นีโอนาซี) เพื่อต่อต่านชาวผิดเหลืองในเยอรมัน สงครามกลางเมืองในยูโกสลาเวีย ระหว่างมุสลิม เซิร์บ และโครแอต และสงครามระหว่างชาวทมิฬ และสิงหล ในศรีลังกา เป็นต้น
แนวทางการปรับตัวให้เข้ากับสังคมและวัฒนธรรมที่แตกต่างกัน
1) การเปิดใจกว้างยอมรับความแตกต่าง
2) การประสานความเข้าใจ ระหว่างประเทศ ทั้งนี้องค์กรความร่วมมือระหว่างประเทศที่
ช่วยเหลือส่งเสริมความเข้าใจอันดีทางสังคมและวัฒนธรรมระหว่างประเทศที่สำคัญ มีดังนี้
1) องค์การศึกษาวิทยาศาสตร์ และวัฒนธรรมแห่ง UN (UNESCO)
2) องค์การเอกภาพแอฟริกา (OAU)
3) กลุ่มประชาคมยุโรป
4) กลุ่มอาเซียน
การพัฒนาคุณภาพประชากร
มนุษย์เป็นทรัพยากรที่มีค่าสูงสุดทั้งนี้เพราะมนุษย์เป็นผู้ผลิต เป็นผู้ใช้ และเป็นอนุรักษ์ทรัพยากรอื่น ๆ เพื่อผลประโยชน์ของมนุษย์เอง
คุณภาพของประชากร จะมีผลความสำคัญยิ่งต่อการพัฒนาประเทศทั้งในด้านเศรษฐกิจและการเมือง
สภาพของประชากรโลก
การเพิ่มขึ้นของประชากรโลก แบ่งออกได้เป็น ระยะ ดังนี้

1) ระยะที่ 1 อยู่ในช่วงก่อนการเกษตรกรรม มนุษย์มีภาวะการเจริญพันธุ์สูง
2) ระยะที่ 2 นับตั้งแต่ช่วงมนุษย์ประกอบอาชีพเกษตรได้จนถึงเริ่มการปฏิวัติอุตสาห
กรรม อัตราเพิ่มของประชากรเพิ่มขึ้นอย่างช้า ๆ และค่อย ๆ เพิ่มมากขึ้นทุกที อัตราการเกิดสูง อัตราการตายต่ำ เนื่องจากเทคโนโลยีการเกษตรผลิตอาหารได้มากขึ้น
3) ระยะที่ 3 เริ่มจากการปฏิวัติอุตสาหกรรมจนถึงสงครามโลกครั้งที่ ลักษณะการ
เพิ่มของประชากรเป็นไปอย่างรวดเร็ว จากความสำเร็จในการปฏิรูปอุตสาหกรรมและความก้าวหน้าทางการแพทย์
4) ระยะที่ 4 เริ่มจากสงครามโลกครั้งที่ ถึงปัจจุบัน อัตราการเกิดยังคงสูง
ปัญหาประชากรโลกที่สำคัญในปัจจุบัน ได้แก่
อัตราการเพิ่มประชากรที่ไม่เหมาะสม (เป้าหมายของ UN ต้องการให้ลดอัตราการเพิ่มของประชากรโลกให้มีค่าเป็นศูนย์หรือใกล้เคียงกับศูนย์(ประมาณร้อยละ 0.2) ซึ่งเยอรมันตะวันออกทำได้สำเร็จชาติแรกของโลก และญี่ปุ่นประเทศแรกในเอเชีย
ผลกระทบจากการเพิ่มประชากร
1) ปัญหาขาดแคลนอาหารบริโภค
2) ปัญหาความเสื่อมโทรมของสภาพแวดล้อมทางธรรมชาติ
3) ปัญหาความขัดแย้งทางการเมืองระหว่างประเทศ
4) ปัญหาเศรษฐกิจและสังคมอื่น ๆ
การพัฒนาคุณภาพของประชากรโลก
1) การพัฒนาด้านการศึกษา องค์การยูเนสโก รับผิดชอบ
2) การพัฒนาด้านสาธารณสุขและอนามัย องค์การอนามัยโลก (WHO) รับผิดชอบ
3) การพัฒนาคุณภาพของเยาวชน องค์การยูนิเซฟ (UNECEF) รับผิดชอบ
คุณภาพชีวิตของประชากร
หมายถึง ชีวิตที่มีความสมบูรณ์ทั้งร่างกายจิตใจและทักษะองค์การยูเนสโก กำหนดว่าคุณภาพชีวิตจะดีหรือไม่เพียงใดขึ้นอยู่กับองค์ประกอบ 5ประการ ได้แก่
1) มาตรฐานการครองชีพ
2) พลวัตรของประชากร เกี่ยวกับโครงสร้างทางอายุ เพศ อัตราการเกิด อัตราการตาย
3) ปัจจัยทางสังคมและวัฒนธรรม
4) กระบวนการพัฒนา

5) ทรัพยากร
แนวทางในการพัฒนาคุณภาพประชากร
แนวคิดและหลักการทั่ว ๆ ไปของการพัฒนาคุณภาพประชากร คือการพัฒนาทั้งทางด้านทักษะ ร่างกายและจิตใจ ตลอดจนสภาพแวดล้อม ซึ่งกระทำได้ดังต่อไปนี้

1) การให้การศึกษา
2) การให้บริการด้านการแพทย์และสาธารณสุข
3) การพัฒนาคุณภาพชีวิต
4) การเมีงานทำและมีรายได้
5) การลดจำนวนเพิ่มของประชากร
6) การบริหารทรัพยากรมนุษย์
การพัฒนาคุณภาพชีวิตของประชากรกับการพัฒนาประเทศไทย
โครงสร้างประชากรไทย
1) การเปลี่ยนแปลงจำนวนประชากร
จำนวนประชากรในประเทศไทยมีการเปลี่ยนแปลงในด้านจำนวนเพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ คาดว่า
ในปี พ.ศ. 2539 จะมีประชากรประมาณ 61 ล้านคน
การเปลี่ยนแปลงจำนวนประชากรขึ้นอยู่กับ อัตราการเกิด อัตราการตาย และอัตราการ
ย้ายถิ่น
2) โครงสร้างทางอายุ
2.1) อัตราการเกิดลดลง ทำให้ประชากรวัยเด็กลดลง จำนวนประชากรในวัยแรงงาน
และจำนวนประชากรสูงอายุจะมากขึ้น
2.2) อัตราการเกิดลดลง ทำให้ประชากรวันพึ่งพิงที่เป็นเด็ก (อายุไม่เกิน 15 ปี๗ ลด
ลง แต่จำนวนประชากรวัยพึ่งพิงที่เป็นผู้สูงอายุ (60 ปีขึ้นไป) จะเพิ่มสูงขึ้น
2.3) สัดส่วนโครงสร้างอายุในปัจจุบัน วัยเด็กประมาณร้อยละ 40 วัยทำงาน ร้อยละ
55 และผู้สูงอายุมีประมาณร้อยละ ของจำนวนประชากรทั้งหมด
วัยเด็ก อายุ 0 – 14 ปี
วัยทำงาน อายุ 15 – 59 ปี
วันสูงอายุ อายุ 60 ปีขึ้นไป
3) ปัญหาและผลกระทบการพัฒนาคุณภาพประชากรที่มีต่อการพัฒนาประเทศไทย
ด้านการศึกษามีดังนี้
3.1) ปัญหาโครงสร้างของประชากรกับการจัดการศึกษา
3.2) ปัญหาด้านคุณภาพการศึกษา
3.3) ปัญหาความเสมอภาคทางการศึกษา
4) ปัญหาการจัดการศึกษา ไม่ตรงกับความต้องการของตลาดแรงงาน
5) ปัญหาการจัดสรรทรัพยากรและบริหารการศึกษา
6) ด้านสุขภาพอนามัยมีดังนี้
6.1) ปัญหาด้านสาธารณสุข
6.2) ปัญหาเรื่องโภชนาการ
7) ด้านคุณธรรมและจริยธรรมมีดังนี้
7.1) เกิดความเคียดและความกดดันทางสังคม
7.2) ค่านิยมทางด้านวัตถุ

ความยุติธรรม

ความยุติธรรม

ความขัดแย้งแบ่งสีในสังคมไทยปะทุขึ้นตั้งแต่ปี พ.ศ. 2548 บานปลายสืบเนื่องนานหลายปีโดยยังไม่มีวี่แววว่าจะสร่างซา ประเทศไทยเดินดุจเรือไร้หางเสือผ่านรัฐประหาร รัฐบาลนอมินี รัฐบาลอำมาตย์ พลิกกลับมาเป็นรัฐบาลโคลนนิ่ง จนถึงปี พ.ศ. 2554 ความยุติธรรมในสังคมยังดูเป็นอุดมคติอันไกลโพ้น ขณะที่ความอยุติธรรมชัดแจ้ง ฝากรอยแผลทางกายและในใจคนอย่างท่วมท้นขึ้นเรื่อยๆ จนคำกล่าวที่ว่า “คุกไทยมีไว้ขังคนจน” ดูจะเป็นสัจธรรมอันยากสั่นคลอน
อย่างไรก็ดี คุณูปการประการหนึ่งของความอึมครึมและแตกแยกในสังคม คือ คำว่า “ความยุติธรรม” ถูกพูดถึงอย่างไม่เคยปรากฏมาก่อนในแทบทุกระดับชั้น ตั้งแต่ผู้นำประเทศจนถึงคนเดินดิน แม่ค้าถกเรื่อง “ตุลาการภิวัตน์” กับลูกค้าระหว่างตักข้าวแกงใส่จาน คนทั่วไปโดยเฉพาะผู้ใส่เสื้อสีที่ “ตื่นตัวทางการเมืองอย่างฉับพลัน” ตามวาทะของอาจารย์เกษียร เตชะพีระ ถกเถียงเรื่องความยุติธรรมทางสังคมอย่างหน้าดำครํ่าเครียด และบางทีก็ถึงขั้นลงไม้ลงมือ
แต่ไม่ว่าเราจะถกเรื่องความยุติธรรมกันมากเพียงใด สิ่งที่ยังพบเห็นน้อยมากในทัศนะของผู้แปลคือ การถกเถียงอย่างรอบด้าน เคารพซึ่งกันและกัน และพยายามให้ความเป็นธรรมกับทุกฝ่าย อันล้วนเป็นปัจจัยที่จำเป็นต่อการเดินสู่ “ความยุติธรรม” ที่แท้จริง
การถกเถียงเรื่องความยุติธรรม ตั้งแต่เรื่องระดับชาติจนถึงเรื่องในครอบครัว ยังดูจะมุ่งไปที่การชักโวหารเหตุผลจากแม่นํ้าทั้งห้ามาสาธยายว่าทำไม “ฉันถูก แกผิด” และ “ความยุติธรรม” ก็มักถูกใช้ในความหมายว่า อะไรก็ตามที่ทำให้ฉันหรือพวกของฉันได้ประโยชน์ โดยไม่สนใจว่าคนอื่นได้รับผลกระทบอย่างไร กระทั่งไม่อยากฟังเพราะปักใจเชื่อไปแล้วว่าคนอื่นไม่ควรค่าแก่การรับฟัง เพราะเป็นสลิ่ม / เป็นควายที่ถูกซื้อ / เป็นชนชั้นกลางดัดจริต / เป็นพวกล้มเจ้า ฯลฯ
การเที่ยวแขวน “ป้าย” ง่ายๆ เหล่านี้ให้กับผู้คิดต่าง ทำให้คนจำนวนมากไม่ถกกันอย่างเปิดใจและตรงไปตรงมา หมกมุ่นกับการใช้วาทศิลป์สร้างวาทกรรมด้านเดียวมาสนับสนุนการต่อสู้ทางการเมือง อาทิ เศรษฐกิจพอเพียง ชุมชนเข้มแข็ง ประชานิยม ทุนโลกาภิวัตน์ ฯลฯ ทั้งที่ในโลกแห่งความจริง สิ่งที่คำเหล่านี้อธิบาย ไม่ได้มีแต่ด้านบวกหรือด้านลบเพียงด้านเดียว และคำหลายคำที่ถูกหยิบขึ้นมาใช้เป็นอาวุธทางความคิดนั้น แท้จริงสามารถใช้ร่วมกันได้อย่างไม่เคอะเขินเพื่ออธิบายความจริง เช่น กลุ่มการเงินชุมชนหลายกลุ่มใช้หลักเศรษฐกิจพอเพียงช่วยเหลือ
ชาวบ้านที่เป็นหนี้สินล้นพ้นตัวได้สำเร็จ เสร็จแล้วก็นำเงินกู้ในนโยบาย “ประชานิยม” อย่างเช่นกองทุนเอสเอ็มแอล มาช่วยให้พวกเขาได้ก่อร่างสร้างตัวขึ้นมาใหม่
ความยุติธรรมจะบังเกิดได้อย่างไร ในเมื่อเรายังไม่เข้าใจกัน
เราจะเข้าใจกันได้อย่างไร ในเมื่อเรายังไม่ให้ความยุติธรรมแม้กับถ้อยคำ ล่ามโซ่ตีกรอบความหมายของมันอย่างคับแคบด้วยวาทกรรมที่ใช้ฟาดฟันทางการเมือง แบ่งโลกออกเป็นขาว – ดำ ทั้งที่โลกจริงหลากหลายกว่านั้น ซับซ้อนกว่านั้น และมีความหวังมากกว่านั้น
ในห้วงยามที่สังคมเป็นเช่นนี้ ผู้แปลคิดว่าหนังสือ “ความยุติธรรม” มาถูกที่ถูกเวลาเป็นอย่างยิ่ง เพราะผู้เขียน – ไมเคิล แซนเดล - เป็นนักปรัชญาการเมืองร่วมสมัยที่ได้รับการยอมรับอย่างสูงในโลกวิชาการ ยิ่งกว่านั้นคือ อาจารย์เป็นปัญญาชนสาธารณะที่มีความสุขกับการใช้ปรัชญาทางการเมืองหลากสำนักตั้งแต่อดีตถึงปัจจุบันเป็นแว่นขยายส่องประเด็นสาธารณะต่างๆ ที่อยู่ในความสนใจของผู้คน ไม่ว่าจะเป็นเรื่องการแต่งงานของคนรักเพศเดียวกัน การเกณฑ์ทหาร การโก่งราคาในภาวะฉุกเฉิน โบนัสมหาศาลของผู้บริหารธนาคาร การเก็บภาษีคนรวยมาช่วยคนจน การอุ้มบุญ การุณยฆาต สิทธิส่วนบุคคลกับประโยชน์สาธารณะ ฯลฯ
ผู้แปลโชคดีที่เคยนั่งเรียนวิชา “ความยุติธรรม” กับอาจารย์ วิชานี้เป็นวิชาที่ได้รับความนิยมสูงสุดในมหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ดติดต่อกันนานกว่าสองทศวรรษ มีนักศึกษาลงทะเบียนเรียนมากกว่าหนึ่งพันคนทุกภาคเรียน มากจนต้องไปเรียนกันในโรงละครแซนเดอร์ส ซึ่งจุคนได้มากที่สุดในมหาวิทยาลัย
สิ่งที่ทำให้ผู้แปลทึ่งที่สุดไม่ใช่ความรอบรู้ของอาจารย์แซนเดล หากแต่เป็นความเอื้ออาทร อ่อนโยน และเคารพอย่างจริงใจในความคิดเห็น
ของนักศึกษาทุกคน กระทั่งกับคนที่ดันทุรัง – ดื้อดึง – ด่าทอเพื่อนร่วมห้อง หรือพูดจาถากถางอาจารย์ด้วยความเชื่อมั่นเกินขีดความสามารถของตัวเอง อาจารย์แซนเดลก็จะรับฟังอย่างตั้งใจ ใจเย็น และใจกว้าง ชี้ชวนให้ผู้คิดต่างเสนอความเห็นและถกเถียงกันในชั้นเรียน โดยสอดแทรกความคิดเห็นของตัวเองให้น้อยที่สุด
อาจฟังดูเหลือเชื่อว่า ในชั้นเรียนซึ่งมีนักเรียนยัดทะนานนับพัน ล้นห้องจนบางคาบนักศึกษานับร้อยต้องนั่งพื้นตรงทางเดิน อาจารย์กลับสามารถถามคำถามและดำเนินบทสนทนาระหว่างนักเรียนได้อย่างมีชีวิตชีวาและท้าทายความคิด (“เอ้า หนุ่มน้อยเสื้อหนาวสีขาวใส่แว่น ชั้นสามจากบนสุดคิดอย่างไรครับ”)
แต่อาจารย์แซนเดลทำได้ หนังสือเล่มนี้เป็นการถ่ายทอดบทสนทนาและการโต้วาทีในชั้นเรียน ระหว่างนักศึกษาด้วยกัน และระหว่างอาจารย์กับนักศึกษา ราวกับยกวิชาในตำนวนวิชานี้ทั้งวิชามาอยู่บนหน้ากระดาษ
นอกจากจะได้ความรู้เกี่ยวกับประวัติศาสตร์ความคิดและปรัชญาการเมืองในโลกตะวันตกแล้ว แซนเดลพยายามจะบอกเราว่า ความยุติธรรมนั้นถึงที่สุดแล้วเป็นเรื่องของการ “ให้คุณค่า” กับสิ่งต่างๆ และด้วยเหตุนี้ ทั้ง “เหตุผล” และ “ศีลธรรม” จึงมีความจำเป็นอย่างยิ่ง ดังเนื้อความตอนหนึ่งว่า
“การขอให้พลเมืองในระบอบประชาธิปไตยทิ้งความเชื่อทางศีลธรรมและศาสนาไว้เบื้องหลังเมื่อพวกเขาเดินเข้าสู่วงอภิปรายสาธารณะนั้น อาจดูเป็นวิธีสร้างหลักประกันว่าคนจะอดทนอดกลั้นและเคารพซึ่งกันและกัน แต่ในความเป็นจริง สิ่งที่เกิดขึ้นอาจตรงกันข้าม การตัดสินคำถามสำคัญๆ ใประเด็นสาธารณะขณะแสร้งทำตัวเป็นกลาง ทั้งที่เป็นกลางจริงๆ ไม่ได้นั้น คือสูตรสร้างปฏิกิริยาโต้กลับและความไม่พอใจ การเมืองกลวงเปล่าอันสิ้นไร้การโต้เถียงทางศีลธรรมอย่างหนักแน่นทำให้ชีวิตพลเมืองของเราแร้นแค้น นอกจากนี้มันยังเชื้อเชิญลัทธิคลั่งศีลธรรมอันคับแคบและไม่อดทนอดกลั้น นักรากฐานนิยมวิ่งเข้าสู่พื้นที่ซึ่งนักเสรีนิยมไม่กล้าย่างเท้าเข้าไป”
ผู้แปลคิดว่าหนังสือเล่มนี้ฉายภาพอย่างแจ่มชัดว่า เหตุใด “การใช้เหตุผลทางศีลธรรม” จึงไม่ใช่สิ่งที่เป็นไปไม่ได้หรือไม่ควรทำ หากแต่เป็นสิ่งที่เราทำอยู่แล้วในชีวิตประจำวัน ไม่ว่าจะรู้ตัวหรือไม่ ผู้แปลหวังว่าหนังสือเล่มนี้จะเป็นส่วนเล็กๆ ในการส่งเสริม ขยับขยาย และยกระดับการถกเถียงประเด็นสาธารณะในสังคมไทยให้พ้นไปจากมุมมองอันคับแคบ ไม่ว่าจะเป็นแบบเข้าข้างตัวเอง แบบยึดติดกับตัวบทกฎหมาย หรือแบบ “ลัทธิคลั่งศีลธรรม” ก็ตามที
หนังสือเล่มนี้เป็นตัวอย่างของปัญญาปฏิบัติ เป็นการใช้เหตุผลสาธารณะ เพื่อถกมิติทางศีลธรรมในประเด็นสาธารณะ เพื่อชีวิตและประโยชน์สาธารณะ
เป็นหนังสือที่ทุก ‘นัก’ ไม่ควรพลาดด้่วยประการทั้งปวง
นอกจากนี้ ผู้แปลยังหวังว่าหนังสือเล่มนี้จะชี้ให้เห็นคุณูปการของการ “ฟัง” อย่างเปิดใจและอ่อนโยน ดังที่อาจารย์แซนเดลทำอย่างเสมอต้นเสมอปลายตลอดมา
เพราะการฟังอย่างตั้งใจนั้น นอกจากจะยากกว่าการพูดหลายเท่าตัวแล้ว ยังจำเป็นต่อการเอื้ออำนวยให้เกิดความยุติธรรมที่แท้จริง หรืออย่างน้อยก็ช่วยบรรเทาความอยุติธรรมที่ตอกตรึงความรู้สึก “น้อยเนื้อตํ่าใจทางการเมือง” ตามวาทะของคุณโตมร ศุขปรีชา
ผู้เขียนขอขอบคุณ ปกป้อง จันวิทย์ ภิญโญ ไตรสุริยธรรมา พลอยแสง เอกญาติ แอลสิทธิ์ เวอร์การา กรมัยพล สิริมงคลรุจิกุล และ
วรพจน์ วงศ์กิจรุ่งเรือง ผองเพื่อนผู้ร่วมก่อตั้งสำนักพิมพ์โอเพ่นเวิลด์ส สำหรับกำลังใจและมิตรภาพที่มอบให้เสมอมา ขอขอบคุณ กฤดิกร เผดิมเกื้อกูลพงศ์ บรรณาธิการเล่ม ที่ได้ตรวจสอบความถูกต้องและขัดเกลาสำนวนภาษาของผู้แปลอย่างพิถีพิถัน เหนือสิ่งอื่นใด ขอขอบคุณอาจารย์ ไมเคิล แซนเดล ผู้ฉายไฟให้เห็นความสำคัญของปรัชญาในชีวิตจริง ความสนุกสนานของการถกประเด็นสาธารณะ และความงดงามของการครุ่นคิดถึง “ชีวิตที่ดี” อย่างยากจะลืมเลือน
ขอให้ทุกท่านมีความสุขกับการอ่าน
ในยุคปัจจุบันที่สังคมโลกต่างให้ความสำคัญกับกระแสสิทธิมนุษยชนและกระแสประชาธิปไตย คนทุกคนมีสิทธิได้รับความเป็นธรรมในสิทธิที่ตนเองควรจะได้รับ ตั้งแต่แรกเกิดคือสิทธิที่จะต้องอยู่รอด สิทธิในการได้รับการคุ้มครองตามกฎหมาย และสิทธิที่จะได้รับการศึกษาและฝึกอบรมที่สอดคล้องกับสภาพวิวัฒนาการของสังคมเศรษฐกิจใหม่ที่เป็นสังคมแห่งการเรียนรู้ 
ที่ความรู้คืออำนาจ การเรียนรู้จึงกลายเป็นเรื่องที่มีความสำคัญและมีความจำเป็นต่อคนทุกคนอย่างทวีคูณ ผู้ที่เข้าถึงความรู้ได้มากกว่าจึงได้เปรียบคนที่เข้าถึงความรู้ได้น้อยกว่า ผู้คนทั่วโลกมีความต้องการการศึกษามากยิ่งขึ้น ดังจะเห็นได้จากการประชุมการศึกษาโลกที่เมืองดาการ์ ประเทศเซเนกัล เมื่อ พ.ศ. 2543 ที่ผ่านมา ได้มีการกำหนดแนวทางการปฏิรูปการศึกษา โดยมีการเสนอจุดหมายหรือหลักชัย (Goals) 6 ข้อ ซึ่งจุดหมายทั้งสามข้อใน 
6 ข้อนั้น ได้ชี้ให้เห็นว่าประเด็นในเรื่องความเสมอภาคทางการศึกษาเป็นประเด็นที่มีความสำคัญเป็นอย่างมากก่อนที่เราจะทำให้บรรลุเป้าหมายเรื่องการเสมอภาคทางการศึกษานั้น การมีความเข้าใจแนวคิดเรื่องความเสมอภาคทางการศึกษาที่ตรงกันเป็นเรื่องที่มีความสำคัญ ในบทความนี้ผมขอเสนอแนวคิดเกี่ยวกับความเสมอภาคทางการศึกษา เพื่อเป็นฐานในการสร้างความเข้าใจในการบริหารจัดการศึกษาทั้งในภาพรวมระดับประเทศ และระดับสถานศึกษาความเสมอภาคทางการศึกษาไม่ใช่อะไร 
ประการแรก ไม่ใช่การใช้วิธีปฏิบัติที่เหมือนกัน  โดยธรรมชาติแล้วคนแต่ละคนมีความแตกต่างกันในเรื่องถิ่นกำเนิด   เชื้อชาติ ภาษาเพศ อายุ สภาพร่างกาย สถานะบุคคล ฯลฯ การปฏิบัติเหมือน ๆ กัน การปฏิบัติแบบเดียวกันกับคนทุก ๆ คน อาจยิ่งทำให้เกิดความแตกต่าง เกิดช่องว่าง หรือความไม่เท่าเทียมกันมากขึ้น เช่น ในทางการศึกษา การให้การศึกษาอบรมระหว่างเด็กปกติกับเด็กที่มีร่างกายพิการย่อมต้องแตกต่างกัน ดังที่ปรากฏในพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542 ในมาตรา 10 วรรค 2 และ 3 ที่กำหนดว่า "การจัดการศึกษาสำหรับบุคคลซึ่งมีความบกพร่องทางร่างกาย จิตใจ สติปัญญา อารมณ์ สังคม การสื่อสารและการเรียนรู้หรือมีร่างกายพิการ หรือทุพพลภาพหรือบุคคลซึ่งไม่สามารถพึ่งตนเองได้ หรือไม่มีผู้ดูแลหรือด้อยโอกาส ต้องจัดให้บุคคลดังกล่าวมีสิทธิ และโอกาสได้รับการศึกษาขั้นพื้นฐานเป็นพิเศษการศึกษาสำหรับคนพิการในวรรคสองให้จัดตั้งแต่แรกเกิดหรือพบความพิการโดยไม่เสียค่าใช้จ่าย และให้บุคคลดังกล่าวมีสิทธิได้รับสิ่งอำนวยความสะดวก สื่อ บริการ และความช่วยเหลืออื่นใดทางการศึกษา ตามหลักเกณฑ์ที่กำหนดในกฎกระทรวง..."เด็กที่มีความบกพร่องทางร่างกาย จิตใจ สติปัญญา อารมณ์ สังคม การสื่อสารและการเรียนรู้ หรือมีร่างกายพิการ หรือทุพพลภาพสมควรได้รับการส่งเสริมให้ได้รับการศึกษาเป็นพิเศษ โดยที่รัฐหรือสถานศึกษาควรบริหารจัดการด้านต่าง ๆ ด้วยความเอาใจใส่เด็กกลุ่มนี้มากเป็นพิเศษ เช่น จัดหาครูหรือบุคลากรทางการศึกษาที่เหมาะสม คือมีความรู้ความเข้าใจในการให้การศึกษาอบรม หรือ

พัฒนาเด็กกลุ่มนี้อย่างแท้จริง จัดหลักสูตร กระบวนการเรียนการสอน และการประเมินผล ที่มีความเฉพาะเจาะจง เป็นต้น เพราะหากรัฐหรือสถานศึกษาจัดการศึกษาให้กับเด็กกลุ่มนี้เหมือน ๆ กับเด็กปกติทั่วไปทุกประการแล้ว คงไม่ก่อให้เกิดประโยชน์อันใดทั้งต่อเด็กกลุ่มนี้  และสังคมส่วนรวมสำหรับเด็กกลุ่มที่มีความสามารถพิเศษก็เช่นกัน รัฐควรจะให้การศึกษาอบรมอย่างเหมาะสมกับความสามารถในด้านต่าง ๆ ของเขาดังที่ปรากฏในพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542 ในมาตรา 10 วรรค 4 ที่กำหนดว่า "การจัดการศึกษาสำหรับบุคคลซึ่งมีความสามารถพิเศษ ต้องจัดด้วยรูปแบบที่เหมาะสมโดยคำนึงถึงความสามารถของบุคคลนั้น" ทั้งนี้เพราะเด็กกลุ่มนี้ต้องการความช่วยเหลือ โดยเฉพาะการได้รับการศึกษาที่ส่งเสริมความสามารถพิเศษของเขาให้โดดเด่นยิ่งขึ้น มีความต้องการที่แตกต่างจากเพื่อนๆ ในวัยเดียวกัน เช่น เขาต้องการการเรียนการสอนที่ท้าทายต่อศักยภาพและความสามารถของเขา เขาสามารถเรียนรู้โดยไม่ต้องใช้เวลานานเท่ากับเด็กปกติ โดยเฉพาะเรื่องที่เขามีความสามารถเป็นพิเศษ เพราะหากได้รับการปฏิบัติเช่นเดียวกันกับเด็กปกติแล้วอาจทำให้เด็กกลุ่มนี้มีพัฒนาการที่น้อยกว่าศักยภาพที่ตนเองมี นอกจากนี้ยังเป็นการสูญเสียโอกาสในการพัฒนาเด็กกลุ่มนี้ให้กลายเป็นกำลังสำคัญที่จะช่วยพัฒนาประเทศต่อไปอีกด้วย ดังนั้นความเสมอภาคทางการศึกษาที่แท้จริงจึงไม่ใช่การปฏิบัติ หรือการจัดการศึกษาที่เหมือนกันให้กับคนทุกคนประการที่สอง ไม่ใช่การให้ทุกคนไปสู่จุดหมายเดียวกัน ความเสมอภาคไม่ใช่การให้แก่ทุกคนจนกระทั่งในที่สุดแล้วคนทุกคนไปสู่จุด ๆเดียวกัน เช่น มีคนอยู่ 2 คน คนแรกมีเงิน 200 บาท คนที่สองมีเงิน 500 บาท ความเสมอภาคไม่ใช่การที่เราต้องเอาเงินให้คนแรก800 บาท และเอาเงินให้กับคนที่สอง 500 บาท เพื่อทำให้ทั้งสองคนนั้นมีเงินคนละ 1,000 บาท เท่ากัน เพราะการทำเช่นนั้นอาจไม่เป็นการยุติธรรมสำหรับคนที่สอง อาจเปรียบเทียบได้กับหลายเหตุการณ์ในสังคมที่ไม่ได้แสดงความไม่เสมอภาค ตัวอย่างเช่น การที่เราเห็นคนจน กับคนรวยในสังคมแล้วสรุปว่า ไม่มีความเสมอภาคกันในสังคมนั้นอาจเป็นข้อสรุปที่ไม่ถูกต้องนัก เพราะในความเป็นจริงแล้วการที่คนหนึ่งรวยกว่าอีกคนหนึ่งนั้นอาจมาจากความขยันหมั่นเพียรศึกษาหาความรู้ เพียรพยายามในการสร้างฐานะ ในขณะที่คนที่จนนั้นอาจมาจากความไม่สนใจใฝ่หาความรู้ตั้งแต่วัยเยาว์ เกียจคร้านในการทำมาหาเลี้ยงชีพ ก็เป็นได้ หรือการที่เราเห็นครอบครัวหนึ่งมีลูก 2 คน ลูกคนแรกเป็นแพทย์ แต่อีกคนหนึ่งเป็นเพียงคนส่งหนังสือพิมพ์ เราไม่สามารถสรุปได้ว่าเกิดขึ้นเนื่องจากเพราะพ่อแม่ไม่ได้ให้ความเสมอภาคกับลูกของตน เพราะในความเป็นจริงแล้วพ่อแม่มีความตั้งใจอยากเห็นลูกทั้งสองมีหน้าที่การงานที่ดี ส่งเสียให้เรียนอย่างเต็มที่ แต่เนื่องจากลูกคนที่สองไม่เอาใจใส่การศึกษาเล่าเรียน ผลที่เกิดขึ้นจึงไม่สามารถสอบเข้ามหาวิทยาลัยได้ เป็นต้นในทางการศึกษาก็เช่นเดียวกันเราไม่สามารถจัดการศึกษา หรือบังคับให้คนทุกคนสอบได้ที่ 1 หรือจบปริญญาเอกเหมือนกันหมดทุกคนได้ เพราะสิ่งนี้ขึ้นอยู่กับศักยภาพและความสามารถ ตลอดจนพฤติกรรมหรือการกระทำของแต่ละคน แท้ที่จริงแล้ว ความแตก
ต่างระหว่างบุคคลเป็นสิ่งที่ช่วยส่งเสริมในการพัฒนาระบบต่าง ๆ ทุกระบบ หากเรารู้จักนำความแตกต่างมาใช้ในทางที่ถูกต้องความเสมอภาคทางการศึกษาจึงไม่ใช่การที่รัฐ หรือสถานศึกษาจัดการศึกษาให้กับทุกคน ทุกกลุ่ม จนในที่สุดแล้วทุกคนไปถึงจุดเดียวกัน และในสภาพความเป็นจริงนั้นย่อมไม่สามารถทำได้ และอาจเกิดผลเสียมากกว่าผลดีหากพยายามจะทำเช่นนั้น เช่น ทำให้ไม่เกิดการแข่งขัน ไม่เกิดความเพียรพยายามเพราะคิดว่าในที่สุดแล้วรัฐก็จะเพิ่มเติมให้เพื่อให้เกิดความเท่าเทียมกันในที่สุด ส่วนผู้ที่เพียรพยายามอยู่แล้วก็เกิดความรู้สึกว่าไม่จำเป็นจะต้องเพียรพยายามต่อไปอีก ส่งผลให้สังคมจะมีความอ่อนแอในที่สุดความเสมอภาคทางการศึกษาคือการให้โอกาสที่เท่าเทียมกัน
ความเสมอภาคทางการศึกษาคือการให้สิทธิและโอกาสในการรับการศึกษาแก่ทุกกลุ่มคนในสังคม โดยไม่ขึ้นกับความแตกต่างกันในเรื่องถิ่นกำเนิด เชื้อชาติ ภาษา เพศ อายุ สภาพทางกายสถานะบุคคลทางเศรษฐกิจหรือสังคม ความเชื่อทางศาสนา ฯลฯ ดังที่ปรากฏในพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542 ในมาตรา 10 ได้กำหนดว่า "การจัดการศึกษา ต้องจัดให้บุคคลมีสิทธิและโอกาสเสมอกัน ในการรับการศึกษาขั้นพื้นฐานไม่น้อยกว่าสิบสองปีที่รัฐต้องจัดให้อย่างทั่วถึงและมีคุณภาพโดยไม่เก็บค่าใช้จ่าย"ในปี 2542 สำนักงานสถิติแห่งชาติได้ทำการสำรวจเรื่อง "ความต้องการการเรียนต่อของเด็กและเยาวชน" การสำรวจข้อมูลทางสังคมพ.ศ. 2542 โดยสำรวจจากเด็กและเยาวชนอายุ 13-24 ปี จำนวน 13.7 ล้านคน พบว่าผู้กำลังเล่าเรียน 6.6 ล้านคน ส่วนอีก 7.1ล้านคนหรือประมาณร้อยละ 52 ออกจากระบบการศึกษาไปแล้ว สาเหตุหลักพบว่า ร้อยละ 74 ไม่มีทุนทรัพย์เรียน ต้องการเลี้ยงตนเอง/ครอบครัว ส่วนอีกร้อยละ 10 ไม่สนใจและเห็นว่าไม่มีประโยชน์ที่จะเรียน อย่างไรก็ตามเด็กที่พลาดโอกาสทางการศึกษาประมาณร้อยละ 28 ยังมีความต้องการเรียนต่อ และร้อยละ 37 ต้องการฝึกอบรมวิชาชีพ   ดังนั้นการจัดการศึกษาต้องเปิดโอกาสให้คนทุกกลุ่มในสังคม เข้าถึงการศึกษาอบรมได้อย่างทั่วถึงจะรู้ได้อย่างไรว่าเสมอภาคทางการศึกษา 
จากที่กล่าวข้างต้น ความเสมอภาคไม่ได้หมายถึง การใช้วิธีปฏิบัติที่เหมือนกันกับทุก ๆ คน หรือการที่ทำให้คนทุกคนไปสู่จุดหมายเดียวกัน ดังนั้นจึงเกิดคำถามขึ้นว่า แล้วเราจะทราบได้อย่างไรว่าสภาพหรือเหตุการณ์หนึ่ง ๆ นั้นเป็นการปฏิบัติที่เสมอภาคหรือไม่การที่เราจะตัดสินว่าเกิดความเสมอภาคทางการศึกษาหรือไม่นั้น หลักการหนึ่งที่สามารถใช้ประกอบการพิจารณาได้ คือ การพิจารณาว่า "การปฏิบัตินั้น ๆ ได้เปิดโอกาสให้ผลลัพธ์ที่แต่ละคนได้รับกับสิ่งที่แต่ละคนทำเป็นเหตุเป็นผลกันหรือไม่" หมายความว่าหากมีการเปิดโอกาสในด้านต่าง ๆ ทางการศึกษาอย่างทั่วถึงแก่บุคคลทุกคนตั้งแต่เริ่มต้นแล้ว การที่ทุกคนจะไปถึงจุดมุ่งหมาย หรือถึงซึ่งความสำเร็จทางการศึกษานั้นย่อมขึ้นอยู่กับผลการกระทำของเขาเองด้วย เช่น รัฐได้เปิดโอกาสทางการศึกษาขั้นพื้นฐาน 12 ปีให้กับคนทุกคนโดยไม่เก็บค่าใช้จ่าย แต่คนจะเรียนจนจบการศึกษาขั้นพื้นฐานได้นั้น ย่อมขึ้นอยู่กับความเพียรพยายาม ความตั้งใจ

ของผู้เรียนแต่ละคนด้วย เช่น การเอาใจใส่การเรียน ความประพฤติในโรงเรียน และคุณสมบัติอีกหลายประการ ซึ่งเป็นสิ่งที่ส่งผลต่อการเรียน ดังนั้นในกรณีที่รัฐเปิดโอกาสให้เช่นนี้แล้ว หากผลการเรียนไม่ดี หรือสอบไม่ผ่าน จึงไม่อาจกล่าวว่าเกิดจากความไม่เสมอภาค เพราะขึ้นอยู่ที่การกระทำของคนนั้น ๆ เอง ไม่ได้เป็นเพราะถูกปิดกั้นการศึกษา เป็นต้นจากตัวอย่างที่ยกมานี้ถือว่ามีการจัดการศึกษาอย่างเสมอภาคเพราะทุกคนมีสิทธิเท่าเทียมกันตั้งแต่ต้น แต่การจะไปถึงจุดหมายคือเรียนจบในระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน 12 ปี หรือสอบเข้าเรียนในมหาวิทยาลัยได้หรือไม่นั้นส่วนหนึ่งอยู่ที่พฤติกรรมของบุคคลนั้น ๆเอง ความเสมอภาคทางการศึกษาจึงต้องไปควบคู่กับความยุติธรรมด้วย คือ ยุติธรรมกับทุกคนทั้งคนที่ทำดี และคนที่ทำไม่ดี ผู้ที่ตั้งใจทำสิ่งที่ดี ย่อมมีโอกาสประสบความสำเร็จ ส่วนผู้ที่ทำไม่ดีแม้มีโอกาสเอื้อให้เขาสำเร็จ แต่เขาสามารถประสบกับความล้มเหลวได้เช่นกันความเข้าใจในเรื่องความเสมอภาคทางการศึกษาที่แท้จริงนั้นเป็นเรื่องที่มีความสำคัญเป็นอย่างยิ่งต่อนักการศึกษาทุกคน ตลอดจนผู้ที่มีส่วนได้ส่วนเสียโดยตรงกับการศึกษา คือผู้เรียนทุกคน ทั้งนี้เพื่อทั้งสองฝ่ายคือรัฐที่เป็นฝ่ายจัดการศึกษากับสถานศึกษาจะสามารถบริหารจัดการศึกษาได้อย่างเสมอภาคตามศักยภาพและความต้องการของผู้เรียน และฝ่ายที่เป็นผู้เรียนซึ่งเป็นผู้รับการศึกษาจะมีความเข้าใจในสิทธิและโอกาสของตนเองในการรับสิ่งอำนวยความสะดวก สื่อ บริการ และความช่วยเหลืออื่นใดทางการศึกษาได้อย่างเต็มที่ ทั้งนี้เพื่อจะสามารถบรรลุเป้าหมายของการปฏิรูปการศึกษา ที่ประชาชนทุกคนจะได้รับการศึกษาอย่างทั่วถึง และต่อเนื่องตลอดชีวิต

วันอังคารที่ 3 กรกฎาคม พ.ศ. 2555

ความเป็นพลโลก

ความเป็นพลโลก

การศึกษาช่วยพัฒนาประชาคมสู่การเป็นพลเมืองโลก (Global Citizen) ได้อย่างไร
การจัดการเรียนเรียนรู้วิชาพลโลก 
                        หลักสูตรแกนกลาง พุทธศักราช 2551  ได้กล่าวถึง การสร้างนักเรียนให้เป็นพลโลก  หรือพลเมืองโลก (Global Citizen)  ไว้ในวิสัยทัศน์ของหลักสูตร  ดังนี้  “หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน  มุ่งพัฒนาผู้เรียนทุกคน  ซึ่งเป็นกำลังของชาติให้เป็นมนุษย์ที่มีความสมดุล ทั้งด้านร่างกาย  ความรู้  คุณธรรม  มีจิตสำนึกในความเป็น พลเมืองไทย และเป็นพลโลก  ยึดมั่นในการปกครองตามระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข  มีความรู้และทักษะพื้นฐาน  รวมทั้งเจตคติที่จำเป็นต่อการศึกษาต่อ  การประกอบอาชีพและการศึกษาตลอดชีวิต  โดยมุ่งเน้นผู้เรียนเป็นสำคัญบนพื้นฐานความเชื่อว่า  ทุกคนสามารถเรียนรู้และพัฒนาตนเองได้เต็มตามศักยภาพ
ทำไม ทำอย่างไร จึงจะนำนักเรียน สู่ความเป็นพลโลก
                         เมื่อวันที่ 19 มีนาคม 255   ณ โรงแรมสยามซิตี้ กรุงเทพมหานคร มีโอกาสเข้าร่วมสัมมนาเรื่องการพัฒนาหลักสูตรเพื่อการสร้างพลเมืองโลกในอนาคต (Curriculum Development for Future Global Citizens Conference)  ที่สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน ร่วมกับ British Council  จัดขึ้นวิทยากรผู้ทรงคุณวุฒิได้ ให้หลักการ แนวคิด ไว้ที่ต้องให้ความสนใจ ซึ่งพอสรุปได้  ดังนี้
จอห์น   แมคโดนัลด์  ผู้อำนวยการองค์การควบคุมคุณภาพการศึกษา  สก๊อตแลนด์
-          หลักสูตรจะต้องสร้างให้เด็กรุ่นใหม่ให้มีความสามารถในการสื่อสารระดับสากลโดยมีภาษาอังกฤษเป็นภาษากลางพร้อมที่จะเรียนรู้ เข้าใจ และยอมรับในศาสนา วัฒนธรรมและภาษาที่แตกต่าง มีความรับผิดชอบและมุ่งมั่นพัฒนาสังคมส่วนรวมในวงกว้างระดับนานาชาติโดยไม่เห็นแก่ผลประโยชน์ของตน แต่ยังคงรักษาเอกลักษณ์ของประเทศและของตนไว้ 
-          หลักสูตรจะต้องช่วยให้เด็กพัฒนาศักยภาพได้เต็มที่ รู้จักคิดวิเคราะห์และแก้ปัญหา คิดสร้างสรรค์สิ่งใหม่ๆ ใช้เทคโนโลยีหาความรู้   มีความรู้ทั้งวิชาการ วิชาชีพและทักษะชีวิต   รู้จักตนเองและให้เกียรติผู้อื่น  เป็นผู้นำและผู้ตามที่ดี  ทำงานเป็นทีมและมีคุณธรรม     
มิสโมอิรา     แมคเคอราเชอร์     ผอ.ฝ่ายการศึกษk ระหว่างประเทศ องค์การควบคุมคุณภาพการศึกษา  สก๊อตแลนด์   
-          การสร้างเด็กให้มีคุณภาพจะต้องพัฒนาครูให้มีความเป็นเลิศในวิชาที่สอน  รู้จักออกแบบการเรียนการสอน และประเมินวัดผลให้เกิดผลลัพธ์ที่ดีต่อเด็ก
ดร.ซูฮ์   สวีนี     ผู้จัดการฝ่ายหลักสูตรการศึกษาวิทยาลัยอายร์  สก๊อตแลนด์
-          การสร้างเด็กให้เป็นพลเมืองที่ดีของโลกนั้นครูมีบทบาทสำคัญที่สุดรวมทั้งมีผู้เชี่ยวชาญและผู้ประกอบอาชีพด้านต่างๆเช่น นักวิทยาศาสตร์มาช่วยครูให้ความรู้เด็ก
รศ.สุชาดา   นิมมานนิตย์     กรรมการบริหารสถาบันภาษา                   จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย 
-          เด็กไทยยังมีจุดอ่อนด้านคิดวิเคราะห์และสังเคราะห์ความรู้ และไม่แบ่งปันความรู้ให้เพื่อนๆ  ซึ่งครูต้องเป็นผู้นำในการเปลี่ยนแปลงด้านการศึกษาและพัฒนาเด็ก
คุณหญิงกษมา  วรวรรณ    อยุธยา   เลขาธิการคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน
-          เนื้อหาหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐานปี2551 นั้นสามารถพัฒนาเด็กให้เป็นพลเมืองคุณภาพของโลกได้อย่างดี   เร็วๆนี้สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน(สพฐ.)จะลงนามความร่วมมือกับกระทรวงต่างๆเช่น กระทรวงวัฒนธรรม  กระทรวงสาธารณสุข  เพื่อให้ช่วยนำความรู้ที่ไม่มีในตำราเรียนทั้ง  8 กลุ่มสาระมาลงในเวบไซต์ สพฐ.  เพื่อให้ความรู้แก่ครูและเด็กจะเริ่มเปิดให้บริการในเดือนพ.ค.นี้
 ดร.ชินภัทร ภูมิรัตน ปลัดกระทรวงศึกษาธิการ ประธานในพิธีเปิด  
                  - กระทรวงศึกษาธิการนับเป็นหน่วยงานด้านการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ที่ทำให้ประชาชนมีความพร้อมที่จะทำประโยชน์ของตนและของโลก โดยมุ่งเน้นบุคลากรบนพื้นฐานของความมีเหตุมีผล มีความรับผิดชอบ ด้วยเล็งเห็นถึงคุณภาพเหล่านี้ต่อพลเมืองโลกในอนาคต
                 - การพัฒนาหลักสูตรเพื่อการพัฒนาพลเมืองโลกจะส่งเสริมให้มีการประสานงานให้เกิดความเท่าเทียมกันและเกิดการเรียนการสอนที่เหมาะสมทั้งวิทยาศาสตร์และภาษาอังกฤษ กระทรวงศึกษาธิการจะได้จัดหาโอกาสให้เกิดการเปลี่ยนแปลงในการสร้างพลเมืองโลกในอนาคต

                    การประชุมสัมมนาเรื่องการพัฒนาหลักสูตรเพื่อสร้างพลเมืองโลกในอนาคตจัดขึ้นเพื่อสร้างทักษะความจำเป็นในการเป็นพลเมืองโลก โดยผ่านการพัฒนาหลักสูตรระดับมัธยมศึกษา เรียนรู้และแลกเปลี่ยนประสบการณ์เรื่องการพัฒนาหลักสูตรเพื่อพลเมืองโลก โดยได้เชิญวิทยากรและผู้ทรงคุณวุฒิจากนานาประเทศมาบรรยายให้ความรู้ ตลอดจนส่งเสริมการศึกษา Inter – Faith โดยเชื่อมโยงแนวความคิดเรื่องโอกาสที่เท่าเทียมกัน

           สรุป   นักการศึกษาเสนอแนะให้พัฒนาเยาวชนให้เป็นพลเมืองคุณภาพของโลกโดยการพัฒนาหลัก สูตรปลูกฝังให้เยาชนมีความรู้วิชาการ-วิชาชีพ ทักษะชีวิต  มีคุณธรรมและยึดประโยชน์ส่วนรวมในระดับสากล  

สร้างความคิดรวบยอด (Concept) เรื่องพลเมืองโลก ผ่านหลักสูตรสถานศึกษาโดย  บูรณาการกับวัตถุประสงค์ และกิจกรรม CCAD  ดังนี้
-          พลโลกมีความเหมือนและความแตกต่างกัน หลายด้าน เช่น สถานที่อยู่อาศัย ภาษา
ศาสนา ความเชื่อ วัฒนธรรม ภาษา  ชีวิตความเป็นอยู่
-          สันติสุขจะดำรงอยู่ได้ ต้องอาศัยการพัฒนาการอยู่ร่วมกันหลายด้าน เช่น
การติดต่อสื่อสาร  การแลกเปลี่ยนทางวัฒนธรรม การค้า และการร่วมกิจกรรมในระดับนาๆ ชาติ อื่นๆ
-          พลโลกจะอยู่ร่วมโลกกันอย่างสันติสุขได้ ต้องเข้าใจ  ยอมรับ และเรียนรู้  ความเหมือนและความแตกต่างกัน
-          โลกจะดำรงอยู่ได้ พลโลกต้องร่วมมือกันรักษ์โลก


 โลกจะดำรงอยู่ได้ พลโลกต้องร่วมมือกันรักษ์โลก
สันติสุขจะดำรงอยู่ได้ ต้องอาศัยการพัฒนาการอยู่ร่วมกันหลายด้าน เช่น การติดต่อสื่อสาร  การแลกเปลี่ยนทางวัฒนธรรม การค้า และการร่วมกิจกรรมในระดับนาๆ ชาติอื่นๆ เช่น  CCADพลโลก จะอยู่ร่วมโลกกันอย่างสันติสุขได้ ต้องเข้าใจ  ยอมรับ และเรียนรู้  ความเหมือนและความแตกต่างกันพลโลกมีความเหมือนและความแตกต่างกัน หลายด้าน เช่น สถานที่อยู่อาศัย ภาษา  ศาสนา ความเชื่อ วัฒนธรรม ภาษา  ชีวิตความเป็นอยู่

โลกศึกษา (Global Education)


โลกศึกษา (Global Education) คืออะไร

*****

โลกศึกษา.....เป็นมุมมองทางการศึกษา  ซึ่งพัฒนามาจากข้อเท็จจริงที่ว่า.....มนุษย์ปัจจุบัน มีความเป็นอยู่และมีปฏิสัมพันธ์กันในโลกยุคโลกภิวัตน์ มากขึ้น

*****

โลกศึกษา  หรือ มีผู้บัญญัติว่า.....โลกาภิวัตน์ศึกษา  เป็นการศึกษาที่เปิดตาและเปิดใจของคนให้รับรู้ความเป็นจริงต่างๆของโลกยุคโลกาภิวัตน์ (Globalized world)  และปลุกให้ผู้เรียนได้ลุกขึ้นมาสร้างโลกที่มีความชอบธรรม  เสมอภาค  และเคารพสิทธิมนุษยชนมากขึ้น

*****

*****

โลกศึกษา  เป็นการศึกษาความเข้าใจ  เกี่ยวกับการพัฒนาด้านสิทธิมนุษยชน  การพัฒนาที่ยั่งยืน  สันติภาพ  การป้องกันความขัดแย้ง  และการศึกษาระหว่าง  วัฒนธรรม ตลอดจนความเป็นพลเมืองโลก

*****

โลกศึกษา  เป็นกระบวนการจัดการเรียนรู้เพื่อการเปลี่ยนแปลงในเชิงลึก  ทั้งด้สนพื้นฐานความคิด  ความรู้สึก  และการกระทำที่มุ่งให้เกิดการเปลี่ยนแปลง  การเชื่อมโยงประสานสัมพันธ์  ความเสมอภาคเท่าเทียม  ความยุติธรรมในสังคม  ความเข้าใจกันระหว่างมนุษย์  โดยมีขั้นตอน  หลักในการเรียนรู้เชิงการเปลี่ยนแปลงที่เกี่ยวกับโลกศึกษาคือ.....

*****

1.การวิเคราะห์สถานการณ์โลกปัจจุบัน

2.วิสัยทัศน์ในการกำหนดทิศทาง  หรือพัฒนาหารูปแบบวิธีการในการแก้ปัญหา

3.กระบวนการเปลี่ยนแปลงเพื่อมุ่งสู่ความเป็นพลเมืองโลกที่รับผิดชอบ

*****

*****

การจัดการเรียนรู้  เน้นกระบวนการตัดสินใจแบบมีส่วนร่วม  เพื่อให้ผู้เรียนมีความตระหนักรู้ในตนเองร่วมกัน  นอกจากนี้  ยังส่งเสริมให้หาหนทางในการเปลี่ยนแปลงในระดับท้องถิ่นที่จะส่งผลต่อระดับโลก

*****

เนื้อหาสาระ ของโลกศึกษา  ไม่ได้เกิดจากแนวคิดที่จำแนกองค์ความรู้ที่เป็นนามธรรม  หากแต่เกิดจากความต้องการและความจำเป็นที่เกิดขึ้นปรากฏ  และแสดงออกของมนุษย์  ได้แก่

*****

การวิเคราะห์เหตุการณ์ และการพัฒนาที่เกิดขึ้นในจุดเล็กๆ ที่เป็นความจริง ใกล้ตัวของผู้เรียน


การเลือกประเด็นเรื่องราวที่เฉพาะเจาะจง และสัมพันธ์กับเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น


การกระตุ้นให้ตระหนักถึงความเชื่อมโยงเหตุการณ์ดังกล่าว  ในระดับท้องถิ่นกับระดับโลกในภาพกว้าง  และให้มีการอภิปราย  สนทนา  แลกเปลี่ยนความคิดเห็นเกี่ยวกับความสัมพันธ์ของเหตุการณ์ดังกล่าว

กิจกรรม การเรียนรู้ที่ 15 การจัดการกับความซับซ้อนของโลก

 
ผลการเรียนรู้
1.       มีรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการเป็นพลเมืองโลก การแก้ปัญหาความขัดแย้ง ความเป็นธรรมในสังคม ค่านิยมและสภาพการณ์ การพัฒนาที่ยั่งยืน สิทธิมนุษย์ชน การพึ่งพาอาศัยซึ่งกันและกัน และความหลากหลาย
2.       คิดวิเคราะห์เกี่ยวกับสถานการณ์ ความจริงใกล้ตัว และสถานการณ์โลกปัจจุบัน
3.       เลือกประเด็นและเชื่อมโยงเรื่องราวที่เฉพาะเจาะจง และสัมพันธ์กับเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นในระดับท้องถิ่นกับระดับโลกในภาพกว้าง
ความคิดรวบยอด
การจัดการกับความซับซ้อนของโลก
กิจกรรม
1.       แนวคิดเกี่ยวกับความซับซ้อนของโลก 
เราต้องเข้าใจว่าคนที่ยึดถือแนวเสรีนิยมในยุคนั้นคือคนสมัยใหม่ก้าวหน้า ที่กำลังสู้กับระบบเก่า แต่พอชนชั้นนายทุนสถาปนาตนเองเป็นเป็นชนชั้นปกครอง และระบบทุนนิยมครอบงำโลกได้ กระแสคิดหลักของนายทุนก็เปลี่ยนไปเป็นการปกป้องอำนาจและผลประโยชน์ของเขา คือเขากลายเป็นคนอนุรักษ์นิยมนั้นเอง
2.       หลักการจัดการกับความซับซ้อนของโลก
.สรุปแล้วความขัดแย้งในวิกฤตการเมืองปัจจุบัน ไม่ใช่ระหว่างกลุ่มชนชั้นนำที่ใช้เสรีนิยม กับกลุ่มชนชั้นนำที่อยากปิดประเทศและหมุนนาฬิกากลับไปสู่ยุคก่อนโลกาภิวัตน์แต่อย่างใด แต่เป็นความขัดแย้งระหว่างอำมาตย์อนุรักษ์นิยมที่ต้องการปกครองประชาชน โดยที่ประชาชนไม่มีส่วนร่วมอะไรเลย ทั้งทางการเมืองและเศรษฐกิจ กับนักการเมืองนายทุนที่ทำแนวร่วมประชาธิปไตยกับพลเมืองส่วนใหญ่ผ่านการพัฒนาสังคม
พรรคประชาธิปัตย์ จึงเป็นทั้งพรรคเสรีนิยม และพรรคอนุรักษ์นิยมได้ และนักวิชาการเสรีนิยมในไทยเป็นพวกที่สนับสนุนอำมาตย์กับเผด็จการ

3.       วิเคราะห์เกี่ยวกับสถานการณ์ ความจริงใกล้ตัวและสถานการณ์ปัจจุบัน
ในปัจจุบัน แนวคิดเสรีนิยมกลายเป็นแนวที่ต่อต้านการใช้รัฐ เพื่อสร้างสวัสดิการและความเป็นธรรมสำหรับส่วนรวม ซึ่งเป็นกระแสหลักในยุโรปหลังสงครามโลกครั้งที่สอง เสรีนิยมที่รื้อฟื้นขึ้นมานี้เป็นแนวคิดที่เน้นสิทธิปัจเจกของคนรวยและนายทุน เหนือสิทธิของคนธรรมดาที่มาจากการเน้นผลประโยชน์ส่วนรวม “เสรีนิยมใหม่”หรือ Neo-liberalism คือลัทธิของคนที่เน้นการค้าเสรี การขายรัฐวิสาหกิจให้เอกชน และการยกเลิกรัฐสวัสดิการ เช่นพรรคอนุรักษ์นิยมในอังกฤษและส่วนอื่นของยุโรปและในสหรัฐ ในทศวรรษ 1980 (ยุค Thatcher กับ Reagan) พวกนี้นอกจากจะเน้นความ “ศักดิ์สิทธิ์ของกลไกตลาด” และความ “จำเป็น” ที่จะลดบทบาทรัฐแล้ว เขาพร้อมจะรับแนวคิด “มือใครยาวสาวได้สาวเอา” แล้วยังอ้างว่าการลดบทบาทรัฐในระบบเศรษฐกิจ จะทำให้มี “ประชาธิปไตย” มากขึ้น แต่ในความเป็นจริงมันเป็นการทำลายสิทธิเสรีภาพของคนทำงานซึ่งต้องการให้รัฐปกป้องความเสมอภาคในสังคม

4.       ประเด็นและเชื่อมโยงเรื่องราวที่เฉพาะเจาะจง และสัมพันธ์กับเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นในระดับท้องถิ่นกับระดับโลกในภาพกว้าง

เมื่อไม่นานมานี้มีคนตั้งคำถามสำคัญท้าทายกับผมว่า “ทำไมถึงเสนอว่าพรรคประชาธิปัตย์ ซึ่งเป็นพรรคอำมาตย์ เป็นพรรคเสรีนิยม?” ผมจะพยายามตอบในบทความนี้
แนวคิดเสรีนิยม (Liberalism) เป็นทั้งแนวคิดทางการเมืองและเศรษฐศาสตร์พร้อมกัน แยกออกจากกันไม่ได้ จุดเริ่มต้นของแนวนี้คือการต่อสู้ทางการเมืองระหว่างชนชั้นนายทุน กับชนชั้นขุนนางอนุรักษ์นิยมในยุโรป ในสมัยปฏิวัติ อังกฤษ อเมริกา และฝรั่งเศส เมื่อคริสต์ศตวรรษที่ 17-18
ในยุคนั้นพวกขุนนางอนุรักษ์นิยมสามารถผูกขาดอำนาจเศรษฐกิจ ผ่านการถือตำแหน่งในรัฐ และสามารถควบคุมอำนาจทางการเมืองผ่านเผด็จการ ดังนั้นแนวคิดของชนชั้นนายทุน ซึ่งเป็นชนชั้นใหม่ที่เติบโตขึ้นมาและท้าทายขุนนางอนุรักษ์นิยม จะเสนอว่าต้องมีประชาธิปไตย และสิทธิเสรีภาพที่เท่าเทียมกัน และต้องทำลายการผูกขาดระบบเศรษฐกิจของรัฐโดยการใช้กลไกตลาดเสรีและการค้าเสรี
นักคิดสำคัญๆ ของแนวเสรีนิยมนี้มีอย่างเช่น John Locke, de Tocqueville, James Mill และเขามักจะเน้นเรื่อง “ประชาธิปไตย” เสรีภาพปัจเจก กับสิทธิในทรัพย์สินปัจเจก เพื่อเผชิญหน้ากับรัฐเผด็จการของขุนนาง ส่วน Adam Smith จะเน้นเรื่องความสำคัญของกลไกตลาดเสรีเพื่อต้านการผูกขาด แต่ “ประชาธิปไตย” ของเขาไม่ใช่ประชาธิปไตยที่พลเมืองชายหญิงทุกชนชั้นจะมีสิทธิเท่าเทียมกัน อย่างที่เราเข้าใจในยุคนี้ มันเป็นการเน้นสิทธิเสรีภาพของนักธุรกิจและชนชั้นกลางเพศชายมากกว่า สิทธิในทรัพย์สินคือสิทธิของนายทุนที่จะจ้าง (และขูดรีด) แรงงาน และสำหรับ Smith การใช้กลไกตลาดมีเป้าหมายในการทำลายอำนาจผูกขาดของขุนนาง ในขณะเดียวกัน Smith เน้นว่าระบบเศรษฐกิจที่พึงปรารถนา จะมีความเป็นธรรมสำหรับคนจนด้วย ไม่ใช่ระบบ “มือใครยาวสาวได้สาวเอา” แต่ลูกศิษย์ Smith ในยุคนี้มักจะลืมประเด็นสำคัญอันนี้
ผลการเรียนรู้
1.       มีรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการเป็นพลเมืองโลก การแก้ปัญหาความขัดแย้ง ความเป็นธรรมในสังคม ค่านิยมและสภาพการณ์ การพัฒนาที่ยั่งยืน สิทธิมนุษย์ชน การพึ่งพาอาศัยซึ่งกันและกัน และความหลากหลาย
2.       คิดวิเคราะห์เกี่ยวกับสถานการณ์ ความจริงใกล้ตัว และสถานการณ์โลกปัจจุบัน
3.       เลือกประเด็นและเชื่อมโยงเรื่องราวที่เฉพาะเจาะจง และสัมพันธ์กับเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นในระดับท้องถิ่นกับระดับโลกในภาพกว้าง
ความคิดรวบยอด
การจัดการกับความซับซ้อนของโลก
กิจกรรม
1.       แนวคิดเกี่ยวกับความซับซ้อนของโลก 
เราต้องเข้าใจว่าคนที่ยึดถือแนวเสรีนิยมในยุคนั้นคือคนสมัยใหม่ก้าวหน้า ที่กำลังสู้กับระบบเก่า แต่พอชนชั้นนายทุนสถาปนาตนเองเป็นเป็นชนชั้นปกครอง และระบบทุนนิยมครอบงำโลกได้ กระแสคิดหลักของนายทุนก็เปลี่ยนไปเป็นการปกป้องอำนาจและผลประโยชน์ของเขา คือเขากลายเป็นคนอนุรักษ์นิยมนั้นเอง
2.       หลักการจัดการกับความซับซ้อนของโลก
.สรุปแล้วความขัดแย้งในวิกฤตการเมืองปัจจุบัน ไม่ใช่ระหว่างกลุ่มชนชั้นนำที่ใช้เสรีนิยม กับกลุ่มชนชั้นนำที่อยากปิดประเทศและหมุนนาฬิกากลับไปสู่ยุคก่อนโลกาภิวัตน์แต่อย่างใด แต่เป็นความขัดแย้งระหว่างอำมาตย์อนุรักษ์นิยมที่ต้องการปกครองประชาชน โดยที่ประชาชนไม่มีส่วนร่วมอะไรเลย ทั้งทางการเมืองและเศรษฐกิจ กับนักการเมืองนายทุนที่ทำแนวร่วมประชาธิปไตยกับพลเมืองส่วนใหญ่ผ่านการพัฒนาสังคม
พรรคประชาธิปัตย์ จึงเป็นทั้งพรรคเสรีนิยม และพรรคอนุรักษ์นิยมได้ และนักวิชาการเสรีนิยมในไทยเป็นพวกที่สนับสนุนอำมาตย์กับเผด็จการ

3.       วิเคราะห์เกี่ยวกับสถานการณ์ ความจริงใกล้ตัวและสถานการณ์ปัจจุบัน
ในปัจจุบัน แนวคิดเสรีนิยมกลายเป็นแนวที่ต่อต้านการใช้รัฐ เพื่อสร้างสวัสดิการและความเป็นธรรมสำหรับส่วนรวม ซึ่งเป็นกระแสหลักในยุโรปหลังสงครามโลกครั้งที่สอง เสรีนิยมที่รื้อฟื้นขึ้นมานี้เป็นแนวคิดที่เน้นสิทธิปัจเจกของคนรวยและนายทุน เหนือสิทธิของคนธรรมดาที่มาจากการเน้นผลประโยชน์ส่วนรวม “เสรีนิยมใหม่”หรือ Neo-liberalism คือลัทธิของคนที่เน้นการค้าเสรี การขายรัฐวิสาหกิจให้เอกชน และการยกเลิกรัฐสวัสดิการ เช่นพรรคอนุรักษ์นิยมในอังกฤษและส่วนอื่นของยุโรปและในสหรัฐ ในทศวรรษ 1980 (ยุค Thatcher กับ Reagan) พวกนี้นอกจากจะเน้นความ “ศักดิ์สิทธิ์ของกลไกตลาด” และความ “จำเป็น” ที่จะลดบทบาทรัฐแล้ว เขาพร้อมจะรับแนวคิด “มือใครยาวสาวได้สาวเอา” แล้วยังอ้างว่าการลดบทบาทรัฐในระบบเศรษฐกิจ จะทำให้มี “ประชาธิปไตย” มากขึ้น แต่ในความเป็นจริงมันเป็นการทำลายสิทธิเสรีภาพของคนทำงานซึ่งต้องการให้รัฐปกป้องความเสมอภาคในสังคม

4.       ประเด็นและเชื่อมโยงเรื่องราวที่เฉพาะเจาะจง และสัมพันธ์กับเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นในระดับท้องถิ่นกับระดับโลกในภาพกว้าง

เมื่อไม่นานมานี้มีคนตั้งคำถามสำคัญท้าทายกับผมว่า “ทำไมถึงเสนอว่าพรรคประชาธิปัตย์ ซึ่งเป็นพรรคอำมาตย์ เป็นพรรคเสรีนิยม?” ผมจะพยายามตอบในบทความนี้
แนวคิดเสรีนิยม (Liberalism) เป็นทั้งแนวคิดทางการเมืองและเศรษฐศาสตร์พร้อมกัน แยกออกจากกันไม่ได้ จุดเริ่มต้นของแนวนี้คือการต่อสู้ทางการเมืองระหว่างชนชั้นนายทุน กับชนชั้นขุนนางอนุรักษ์นิยมในยุโรป ในสมัยปฏิวัติ อังกฤษ อเมริกา และฝรั่งเศส เมื่อคริสต์ศตวรรษที่ 17-18
ในยุคนั้นพวกขุนนางอนุรักษ์นิยมสามารถผูกขาดอำนาจเศรษฐกิจ ผ่านการถือตำแหน่งในรัฐ และสามารถควบคุมอำนาจทางการเมืองผ่านเผด็จการ ดังนั้นแนวคิดของชนชั้นนายทุน ซึ่งเป็นชนชั้นใหม่ที่เติบโตขึ้นมาและท้าทายขุนนางอนุรักษ์นิยม จะเสนอว่าต้องมีประชาธิปไตย และสิทธิเสรีภาพที่เท่าเทียมกัน และต้องทำลายการผูกขาดระบบเศรษฐกิจของรัฐโดยการใช้กลไกตลาดเสรีและการค้าเสรี
นักคิดสำคัญๆ ของแนวเสรีนิยมนี้มีอย่างเช่น John Locke, de Tocqueville, James Mill และเขามักจะเน้นเรื่อง “ประชาธิปไตย” เสรีภาพปัจเจก กับสิทธิในทรัพย์สินปัจเจก เพื่อเผชิญหน้ากับรัฐเผด็จการของขุนนาง ส่วน Adam Smith จะเน้นเรื่องความสำคัญของกลไกตลาดเสรีเพื่อต้านการผูกขาด แต่ “ประชาธิปไตย” ของเขาไม่ใช่ประชาธิปไตยที่พลเมืองชายหญิงทุกชนชั้นจะมีสิทธิเท่าเทียมกัน อย่างที่เราเข้าใจในยุคนี้ มันเป็นการเน้นสิทธิเสรีภาพของนักธุรกิจและชนชั้นกลางเพศชายมากกว่า สิทธิในทรัพย์สินคือสิทธิของนายทุนที่จะจ้าง (และขูดรีด) แรงงาน และสำหรับ Smith การใช้กลไกตลาดมีเป้าหมายในการทำลายอำนาจผูกขาดของขุนนาง ในขณะเดียวกัน Smith เน้นว่าระบบเศรษฐกิจที่พึงปรารถนา จะมีความเป็นธรรมสำหรับคนจนด้วย ไม่ใช่ระบบ “มือใครยาวสาวได้สาวเอา” แต่ลูกศิษย์ Smith ในยุคนี้มักจะลืมประเด็นสำคัญอันนี้

กิจกรรม การเรียนรู้ที่ 14 การพึ่งพาอาศัยกัน

กิจกรรม การเรียนรู้ที่ 14  การพึ่งพาอาศัยกัน
ผลการเรียนรู้
1.       มีรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการเป็นพลเมืองโลก การแก้ปัญหาความขัดแย้ง ความเป็นธรรมในสังคม ค่านิยมและสภาพการณ์ การพัฒนาที่ยั่งยืน สิทธิมนุษย์ชน การพึ่งพาอาศัยซึ่งกันและกัน และความหลากหลาย
2.       คิดวิเคราะห์เกี่ยวกับสถานการณ์ ความจริงใกล้ตัว และสถานการณ์โลกปัจจุบัน
3.       เลือกประเด็นและเชื่อมโยงเรื่องราวที่เฉพาะเจาะจง และสัมพันธ์กับเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นในระดับท้องถิ่นกับระดับโลกในภาพกว้าง
ความคิดรวบยอด
ความเข้าใจ ตระหนักรู้ถึงความสัมพันธ์เชื่อมโยงระหว่างกันของผู้คน ถิ่นฐาน เศรษฐกิจ
กิจกรรม
1.       แนวคิดเกี่ยวกับความสัมพันธ์เชื่อมโยงระหว่างกันของผู้คน ถิ่นฐาน เศรษฐกิจ
    คำว่า โลกาภิวัตน์” หมายถึง การแพร่กระจายไปทั่วโลก (ของข่าวสาร) การที่ประชาคมโลกไม่ว่าจะอยู่ ณ จุดใดสามารถรับรู้ สัมผัส หรือ รับผลกระทบจากสิ่งที่เกิดขึ้นได้อย่างรวดเร็ว กว้างขวาง สืบเนื่องมาจากการพัฒนาระบบสารสนเทศ ดังนั้นยุคโลกาภิวัตน์จึงเป็นยุคข้อมูลข่าวสาร (Information Age) ที่ไร้พรมแดน อันเป็นยุคที่มีพัฒนาการและการเปลี่ยนแปลงอย่างมากทางด้านเทคโนโลยีสื่อสารและคมนาคม ทำให้ประเทศต่าง ๆ ได้เข้ามาใกล้ชิดกันมากขึ้น กระแสโลกทั้งในรูปของทุนและข้อมูล รวมทั้งค่านิยมบางประการ เช่น สิทธิมนุษยชนและสิ่งแวดล้อม ได้ขยายตัวครอบคลุมไปทั่วโลก 
2.       หลักการจัดการให้ความสัมพันธ์เชื่อมโยงระหว่างกันของผู้คน ถิ่นฐาน เศรษฐกิจ เป็นไปอย่างสมดุล
 ลักษณะสำคัญของโลกาภิวัตน์ จึงเป็นความหลากหลายที่เกี่ยวข้องกับการกระจายกิจกรรม
การดำเนินงาน ซึ่งแต่เดิมอาจจะผูกขาดอยู่ ณ ศูนย์หรือแหล่งไม่กี่แห่งในโลก ออกไปยังท้องถิ่นหรือศูนย์ใหม่ๆ หลากหลายมากขึ้น ดังนั้นจึงอาจกล่าวได้ว่า สังคมยุคโลกาภิวัตน์จึงเป็นโลกที่มนุษย์สามารถข้ามพรมแดนของประเทศและสามารถทะลุกาลเวลาได้ โดยอาศัยเทคโนโลยีสารสนเทศในการติดต่อสื่อสารในลักษณะที่ไร้พรมแดน โลกในสายตาของผู้ที่อาศัยเทคโนโลยี จึงเป็นโลกใบเล็กที่สามารถติดต่อถึงกันได้ง่ายและรวดเร็ว 
         
           ปัจจุบันโลกมีการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วในทุกมิติทั้งทางสังคม เศรษฐกิจ การเมือง และเทคโนโลยี อันเป็นผลมาจากการพัฒนาเทคโนโลยีสารสนเทศ และการปรับเปลี่ยนโครงสร้างเศรษฐกิจการเมืองโลก มีผลทำให้ประเทศต่าง ๆ ในโลกต้องพึ่งพาอาศัยซึ่งกันและกัน และมีความเชื่อมโยงระหว่างกันมากขึ้น โลกที่เคยกว้างใหญ่กลับเล็กลง ดินแดนแต่ละประเทศที่อยู่ห่างไกลกันสามารถติดต่อกันได้ภายในเวลาเสี้ยววินาทีประดุจเป็นหมู่บ้าน (Global Village) ภูเขาและทะเล ซึ่งเป็นพรมแดนธรรมชาติ ที่เคยเป็นอุปสรรคในการติดต่อไปมาหาสู่ ดูเสมือนเลือนหายไปจนกลายเป็นโลกไร้พรมแดน 
3.       วิเคราะห์เกี่ยวกับสถานการณ์ ความจริงใกล้ตัวและสถานการณ์ปัจจุบัน
เกิดการเพิ่มขึ้นของแรงงานด้านข่าวสาร จำนวนแรงงานที่ทำงานเกี่ยวกับข่าวสาร ข้อมูลมีจำนวนเพิ่มมากขึ้น แรงงานเหล่านี้ได้แก่ผู้ที่อยู่ในวงการการศึกษา การคมนาคม การพิมพ์ การโฆษณาประชาสัมพันธ์ สื่อสารมวลชน ทุกประเภท การเงิน การบัญชี รวมทั้งอุตสาหกรรมผลิตคอมพิวเตอร์หรือชิ้นส่วนคอมพิวเตอร์ และงานที่เกี่ยวกับการนำเทคโนโลยีมาจัดการกับ ข่าวสารทุกชนิด

       เกิดการไหลบ่าของข้อมูลข่าวสาร วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีมีส่วนช่วยให้เศรษฐกิจและสังคมเจริญก้าวหน้า เศรษฐกิจที่เจริญก้าวหน้าทำให้โลกตะวันตกมั่งคั่งร่ำรวย ซึ่งจะมีผลทำให้เกิดเป็นแรงกระตุ้นให้มีการวิจัยและพัฒนา เพื่อศึกษาค้นคว้าหาข่าวสารที่เป็นประโยชน์อย่างไม่หยุดยั้ง สถาบันการศึกษาต่าง ๆ ก็ทำหน้าที่ค้นคว้าวิจัยเพื่อให้ได้มาซึ่งความรู้ใหม่ ๆ เพิ่มมากขึ้น เทคโนโลยีสื่อสารอันทันสมัยก็มีส่วนช่วยให้เกิดการเปลี่ยนถ่ายข้อมูลใหม่ ๆ หมุนเวียนอยู่ตลอดเวลาอย่างไม่มีที่สิ้นสุด

          ระบบเศรษฐกิจประสานเป็นหนึ่งเดียว ในสังคมยุคโลกาภิวัตน์ระบบเศรษฐกิจจะมีการประสานเป็นหนึ่งเดียว ทำให้พรมแดนแต่ละประเทศไม่อาจขวางกั้นพลังทางเศรษฐกิจได้ นอกจากนี้ ระบบเศรษฐกิจยังได้เปลี่ยนรากฐานจากระบบอุตสาหกรรมมาเป็นระบบเศรษฐกิจแบบฐานข่าวสาร (Information based economy) ซึ่งเป็นระบบเศรษฐกิจที่เกี่ยวข้องโดยตรงกับกระบวนการผลิต การจัดการ และเผยแพร่ข่าวสาร ข่าวสารกลายเป็นสินค้าประเภทหนึ่ง ตัวอย่างธุรกิจชนิดนี้ เช่น การผลิตคอมพิวเตอร์ เครื่องโทรคมนาคม วิทยุ โทรทัศน์ การพิมพ์ โทรศัพท์ หนังสือ วารสาร เป็นต้น ข่าวสารกลายเป็นเรื่องสำคัญและเป็นทรัพยากรที่สำคัญ ผู้ต้องการใช้ข่าวสารต้องเสียค่าใช้จ่าย ข่าวสารกลายเป็นแหล่งทุน และเป็นบ่อเกิดของการว่าจ้างแรงงาน
4.       ประเด็นและเชื่อมโยงเรื่องราวที่เฉพาะเจาะจง และสัมพันธ์กับเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นในระดับท้องถิ่นกับระดับโลกในภาพกว้าง


      ระบบเศรษฐกิจแบบใหม่ ซึ่งมีข้อมูลข่าวสารเข้ามามีบทบาทสำคัญ ซึ่งจะนำมาสู่การเปลี่ยนแปลงด้านการผลิตสินค้า จากการผลิตที่เหมือนกันในปริมาณที่เป็นจำนวนมาก มาเป็นการผลิตที่ใช้เทคโนโลยีคอมพิวเตอร์เข้ามาควบคุมในการผลิต โดยมีลักษณะการใช้งานเฉพาะ ซึ่งใช้ระยะเวลาการผลิตสั้นกว่า สิ้นเปลืองน้อยกว่า จะเข้ามาแทนที่ เช่น รถยนต์ ชิ้นส่วนอาจได้รับการผลิตในประเทศต่าง ๆ ประเทศ ที่มีความสามารถเฉพาะด้าน แล้วนำมาประกอบในประเทศที่ แล้วส่งขายไปทั่วโลก ซึ่งเป็นลักษณะของการเกิดบริษัทข้ามชาติทุนข้ามชาติ ที่เข้าไปเสาะแสวงหาผลกำไร อย่างไร้พรมแดนในดินแดนต่างๆ ทั่วโลก แล้วกำไรเหล่านั้น ถูกส่งไปพัฒนา หรือถูกส่งไปยังบริษัทใหญ่ในประเทศแม่ เป็นแบบฉบับธุรกิจโลกาภิวัตน์ ซึ่งมีผลทำให้ธุรกิจ การเงิน หลักทรัพย์ ธนาคาร ประกันภัย ต้องปรับตัวเพื่อรองรับธุรกิจแบบโลกาภิวัตน์ด้วย การผลิตในโรงงานอุตสาหกรรมจะเปลี่ยนระบบการผลิตมาเป็นการผลิตอย่าง ต่อเนื่องตลอด 24 ชั่วโมง ระบบการเงินก็จะต้องปรับมาบริการแบบ 24 ชั่วโมงด้วย กระแสเงินตราต่าง ๆ ได้ผ่านเข้าออกธนาคารตลอดเวลาในช่วงเวลาที่วัดกันเป็นเสี้ยววินาที โดยใช้อิเล็กทรอนิกส์ ซึ่งอัตราเร็วนี้คือความสามารถที่จะก้าวล้ำหน้า ทำให้มีผลต่อการกระจายอำนาจและผลกำไรอย่างมากมาย นอกจากนั้น กระแสการแข่งขันด้านการค้าและการแสวงหาตลาดได้ดำเนินไปอย่างรวดเร็ว กลายเป็นสภาพข้ามชาติอย่างแท้จริง การค้าและช่องทางการเข้าสู่ตลาดโลกมิอาจดำเนินไปในรูปแบบที่เรียกว่า ลัทธิพาณิชย์นิยม (Mercantilism) ที่เคยเป็นลักษณะหนึ่งของการแข่งขัน เพื่อผูกขาดอำนาจและผลประโยชน์ในอดีต การดำเนินกิจกรรมทางการค้าได้พัฒนาซับซ้อนและมีกลไกมีวิธีการหลากหลายมากขึ้น ในยุคนี้จะได้เห็น การทูตแผนใหม่” (New Diplomacy) ที่มุ่งไปที่พันธมิตรทางธุรกิจ การค้าและอุตสาหกรรม แทนการใช้ระบบการเมืองดังที่เคยปรากฏในช่วงศตวรรษที่ผ่านมา
          ผลกระทบด้านการเมือง
          เกิดความรู้สึกท้องถิ่นนิยม (Localism) กระแสโลกาภิวัตน์สร้างความรู้สึกท้องถิ่นนิยมแทนที่อุดมการณ์ชาตินิยม เนื่องจากสังคมยุคโลกาภิวัตน์เป็นยุคแห่งข่าวสาร ซึ่งประชาชนใน ท้องถิ่นสามารถรับรู้ข้อมูลข่าวสารด้านต่างๆ ที่ส่งผลกระทบต่อชุมชนของตนได้อย่างรวดเร็วจากสื่อมวลชน ทำให้เกิดการปลุกจิตสำนึกของประชาชนในท้องถิ่น ให้รู้จักเห็นคุณค่าอนุรักษ์ รักษา และหวงแหนทรัพยากรภายในท้องถิ่นของตน พร้อมทั้งตรวจสอบการดำเนินงานของรัฐบาลกลาง หากรัฐบาลกลางหวังจะตักตวงผลประโยชน์จากท้องถิ่นโดยไม่โปร่งใส ก็จะถูกต่อต้านจาก ประชาชนในท้องถิ่น ดังที่เราได้พบเห็นที่กลุ่ม ประชาชน ออกมาเรียกร้อง สิทธิ ความเสมอภาคต่างๆ